การเล่นประเภทคู่

การเล่นประเภทคู่
การเล่นประเภทคู่ เป็นการเล่นที่มีความเร็วมากกว่าการเล่นประเภทเดี่ยว เพราะผู้เล่นแต่ละคนต้องรับผิดชอบ รักษาเรื่องพื้นที่ในสนามแคบกว่า เข้าประชิดตีลูกได้เร็วขึ้นและใช้ลูกตบได้บ่อยโดยไม่ต้องเกรงว่าจะเสียการ ทรงตัว เพราะคู่พร้อมที่จะตีลูกคอยช่วยเหลืออยู่แล้ว การเล่นคู่ต้องอาศัยการประสานงานกันผู้เล่นไม่เพียงแต่คำนึงถึงการ ตีลูกของตนเองอย่างเดียว ยังต้องคิดถึงคู่ของตน คอยหาทางส่งลูกข้ามไปยังเป้าหมายที่ฝ่ายตรงกันข้ามไม่สามารถ ตีลูกอันตรายกลับมาได้ นอกจากนี้ยังต้องเข้าใจกลวิธีการเล่นต่างๆ เหมือนกันทุกประการ การเล่นคู่ต้องหัดคู่กันมา เป็นเวลานานจึงจะรู้ถึงจิตใจกันดี
การเล่นประเภทคู่ที่นิยมกันทั่วไปมีอยู่ 3 อย่างคือ

ก. การเล่นประเภทชายคู่
ข. การเล่นประเภทหญิงคู่
ค. การเล่นประเภทคู่ผสม
การเล่นคู่ของนักแบดมินตันทั้งชายและหญิงมีพื้นฐานอันเดียวกัน แตกต่างกันที่ฝ่ายหญิงไม่รุนแรงเท่านักแบดมินตันฝ่ายชาย การเคลื่อนไหวไม่ว่องไวเท่าฝ่ายชาย แต่ถ้าคู่หญิงมีการตั้งรับที่เหนียวแน่น และสามารถตีลูกได้ถึงหลังสนาม ก็จะมีโอกาสตีชนะได้ ง่ายฝ่ายที่ตีกดลูกลงตำมักจะเป็นฝ่ายรุก ส่วนฝ่ายที่งัดลูกโยนมักจะเป็นฝ่ายรับ ส่วนการเล่นชายคู่จะเล่นรวดเร็วและรุนแรงกว่า แต่อย่างไรก็ตามการเล่นประเภทคู่โดยทั่วไปมีวิธีการเล่นหลายหลากแบบไหนก็ แล้วแต่ผู้เล่นแต่ละคู่จะตกลงกัน

แบบที่1 การยืนคนละข้าง (Side by Side)
การเล่นแบบนี้ผู้เล่นจะรับผิดชอบเฉพาะสนามของด้านตน คือสนามทางด้านซ้ายคนหนึ่งและสนามทาฃด้านขวาอีกคนหนึ่ง ตำแหน่งการยืนของแต่ละคนคือกลางสนามด้านของตน เพื่อที่จะได้วิ่งไปรับลูกข้างหน้า ลูกหยอด หรือถอยหลังไปรับลูกทาง ด้านหลังให้ทันระโยชน์ในการยืนแบบนี้เพื่อ
ก. ผู้เล่นรู้ว่าลูกไหนตนควรเล่น และลูกไหนควรปล่อยให้ร่วมเล่น
ข. เป็นการสอนให้ผู้เล่นกลับมายืนในตำแหน่งขอวตนได้รวดเร็วหลังจากตีลูกไปแล้ว
ค. ฝึกฝนให้ผู้เล่นเคลื่อนที่ไปข้างหน้าและถอยหลังได้อย่างดียิ่ง
ง. เป็นการรักษาเนื้อที่ไม่ให้มีที่ว่าง
การเปลี่ยนตำแหน่งการตี ซึ่งในบางครั้งผู้เล่นที่อยู่สนามด้านขวาต้องวิ่งเข้าไปรับลูกหน้าตาข่าย และฝ่ายตรงข้ามอาจจะตีลูกไปข้างหลัง ดังนั้นผู้ที่เล่นอยู่ด้านซ้ายของสนามจะต้องวิ่งเข้าไปช่วยตีลูกในสนามด้าน ขวา และผู้เล่นในสนามด้านขวาซึ่งไปเล่นลูกหน้าตาข่ายจะต้อง วิ่งกลับเล่นลูกทางด้านซ้ายทันที เพื่อเป็นการรักษาเนื้อที่ของสนามฝ่ายตนไม่ให้ว่างเป็นการเปลี่ยนด้านกัน
การเล่นแบบนี้มีผลดีเมื่อทั้ฃสอฃคนมีฝีมือเท่าๆกัน ถ้าทั้งสองฝ่ายมีฝีมือที่ต่างกันจะทำให้เสียเปรียบฝ่ายตรงข้าม เพราะฝ่ายตรงข้าม จะเลือกตีใส่ผู้เล่นที่มีฝีมืออ่อนกว่า หรือ จะโยกหน้าหลังเฉพาะผู้เล่นที่อยู่ทางซีกใดซีกหนึ่งของสนามเพียงคนเดียว

แบบที่2 การเล่นหน้าหลัง (Up and Back)

การเล่นแบบนี้คนหนึ่งยืนอยู่ข้างหน้าคอยระวังรักษาตลอดแนวหน้าตาข่าย อีกคนหนึ่งอยู่ข้างหลังคอยระวังตลอดสนามด้านหลัง วิธีการเล่นคือ คนไหนเป็นผู้ส่งลูกหรือเป็นผู้รับลูกก็ไปเล่นข้างหน้า อีกคนก็เป็นผู้เล่นหลังการเล่นหน้าหลังนี้ผู้ด้านหลังอาจถูก โยกซ้ายและขวาจนหมดแรงได้เมื่อตกเป็นฝ่ายรับ เนื่องจากสนามประเภทคู่กว้างกว่าสนามประเภทเดี่ยว

แบบที่3 การเล่นแบบทะแยงมุม (diagonal)

การเล่นแบบทแยงมุมโดยแบ่งสนามในรูปลากเส้นทะแยงมุม จากมุมด้านหน้าทะแยงสนามไปสู่มุมด้านขวาหลัง ให้ผู้เล่นคนหนึ่งรับผิดชอบ บริเวณหน้าตาข่ายกับด้านขวาบางส่วนของสนาม ส่วนผู้เล่นอีกคนหนึ่งรับผิดชอบซีกซ้ายโดยคุมการตีลูกเหนือศรีษะแทนการตีลูก หลังมือ ทั้งสองมีการหมุนแทนที่กันในแบบทวนเข็มนาฬิกา คือคนที่วิ่งเข้าไปรับลูกหยอดเวลาถอยกลับจะถอยออกมาทางซ้ายเสมอ และผู้เล่นอีกคน หนึ่งที่อยู่ด้านหลังจะเคลื่อนย้ายตัวมาซีกขวา เพื่อป้องกันไม่ให้สนามมีที่ว่าง

แบบที่4 การเล่นแบบหมุนเวียน (Rotation)

การเล่นหมุนเวียนนี้นิยมเล่นกันมาก โดยผู้เล่นยืนทะแยงคล้ายแบบทะแยงมุม เมื่อคนหน้าวิ่งเข้าไปรับลูกที่หน้าตาข่าย
อีกคนหนึ่งจะอยู่ด้านหลังหรือถ้าคนใดคนหนึ่งถอยไปตบลูกทางด้านหลังของสนาม อีกคนจะคอยยืนคุมพื้นที่ด้านหน้า โดย
ยกแร็กเก็ตให้สูงในถ้าเตรียมพร้อมอยู่เสมอแต่ถ้าเป็นฝ่ายตั้งรับโดยยืนคนละข้างของสนาม ผู้เล่นที่อยู่ด้านใดก็จะต้องวิ่ง
เข้าไปรับลูกหยอดด้านนั้น ในทำนองเดียวกันถ้าเป็นลูกโด่งหลังผู้เล่นด้านใดก็จะต้องถอยหลังไปตีลูกด้านนั้นเช่นเดียวกัน

การเล่นแบบผสม

การเล่นแบบนี้เป็นการรวมเอาข้อดีทั้ง 4 แบบมาไว้ด้วยกัน โดยขณะผู้ส่งลูกผู้เล่นจะยืนแบบหน้า-หลัง
คือผู้เสิร์ฟเป็นผู้โต้ตอบและป้องกันแดนหน้า คู่ขาจะเป็นผู้รุกโจมตีอยู่ด้านหลัง เมื่อตกเป็นฝ่ายรับงัดลูก
ออกไปจะเป็นการยืนแบบแบ่งคอร์ดเพื่อจำกัดพื้นที่การรับ ทั้งนี้ผู้เล่นทั้ง 2 คนสามารถช่วยเหลือกันได้
ตลอดเวลา แบบหมุนเวียนกันที่ในลักษณะทวนเข็มนาฬิกา วิธีการเล่นแบบนี้นับเป็นวิธีการเล่นที่ดีที่สุด
โดยผู้เล่นต้องมีความสามารถใกล้เคียงกัน และต้องฝึกฝนเรียนรู้วิธีการเล่นซึ่งกันและกันมานานด้วยจึงจะได้ผลดี

การส่งลูกในประเภทคู่

การส่งลูกในประเภทคู่ ส่วนมากจะเป็นการส่งลูกต่ำเฉียดตาข่าย ฝ่ายส่งลูกจะต้องเตรียมตัวพร้อมที่จะรับการโต้ตอบของอีกฝ่ายหนึ่ง ส่วนใหญ่จะเป็นลูกแย็บหรือลูกดาด บางครั้งอาจจะส่งลูกโด่ง แต่มักจะออกนอกสนามหรือโดนโต้ตอบด้วยลูกตบกลับมาได้ การยืนส่ง ลูกจากสนามด้านซ้ายให้ยืนห่างเส้นส่งลูกสั้นประมาณ 3 ฟุต และถ้าส่งลูกจากสนามด้านขวา ควรยืนชิดเส้นข้างหนึ่งเพื่อทำมุมส่งไปทาง ซ้ายของฝ่ายตรงกันข้าม